วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โครงการเยียวยาผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในของอปท.


โครงการเยียวยาผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
~~~~~~~~~~


๑. หลักการและเหตุผล
ด้วยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๕ “การตรวจสอบภายใน” หมายถึง การตรวจสอบการปฏิบัติตามแผนงานที่เกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การเงิน การพัสดุและทรัพย์สิน การบริหารงานด้านอื่น ๆ ตลอดจนการตรวจสอบบัญชี การวิเคราะห์ประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของการควบคุมภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการรายงานผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ
“องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หมายถึง องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล
“ตรวจสอบภายใน” หมายถึง ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
“หน่วยรับตรวจ” หมายถึง หน่วยงานตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้หมายความรวมถึงกิจการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารหรือกำกับดูแล

๒.วัตถุประสงค์
๑.เพื่อรักษาตำแหน่งเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้คงอยู่กับสายงานและโครงสร้างของหน่วยงานตรวจสอบภายในไม่โอน (ย้าย) เปลี่ยนสายงานไปสายงานอื่น (กองคลัง) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้การตรวจสอบภายในของ อปท.ไม่เจริญก้าวหน้า (ทางตัน) และไม่มีผู้ตรวจสอบภายในตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามระเบียบดังกล่าว
๒.เพื่อพัฒนาสายงานด้านการตรวจสอบภายในให้คงอยู่และใช้หลักการพึ่งพาอาศัยกันในสายงานและยึดหลักอาวุโสของผู้ปฏิบัติงานแต่ละบุคคลภายในหน่วยงานตรวจสอบภายในของ อปท.
๓.เพื่อสร้างแรงจูงใจแก่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในได้พัฒนางานของตนที่อยู่ความรับผิดชอบตามที่ระเบียบกำหนดและสอดคล้องกับสร้างคนให้อยู่กับสายงาน มีขวัญกำลังในการปฏิบัติงาน หลักพึงมีพึงได้หลักอาวุโสของสายงานตรวจสอบภายใน

๓.เป้าหมาย
ด้วยเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในนั้นระเบียบกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบไว้เฉพาะแล้ว กำหนดให้เป็นผู้ตรวจสอบภายในโดยตำแหน่งซึ่งสอดคล้องกับระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน พ.ศ.๒๕๔๖ และระเบียบกระทรวงหมาดไทย ว่าด้วยการตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๕ โดยมีนัยสำคัญทางเดียวกันกับระเบียบมหาดไทยดังกล่าว สาเหตุสำคัญที่ได้เขียนโครงการเยียวยานี้ขึ้นเพราะว่าได้ตำหนักและเล็งเห็นความสำคัญของตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในหรือผู้ตรวจสอบภายในไม่โอน (ย้าย) เปลี่ยนสายงานคงอยู่กับสายงานตรวจสอบภายในหรือหน่วยงานตรวจสอบภายในที่มีโครงสร้างส่วนราชการเช่นเดียวกับกอง/สำนักของส่วนราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันเจ้าหน้าตรวจสอบภายในไม่มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติที่ดีพอเนื่องจากสาเหตุของความเจริญก้าวหน้าในสายงานการตรวจสอบภายในและการขอโอน(ย้าย)เปลี่ยนสายงานไปเป็นกำลังสำคัญของกองคลังหรือกองต่าง ๆ เมื่อถึงระดับ ๖ และ ๗ เกิดการขาดแคลนในตำแหน่งหรือผู้ที่มีความถนัดหรือเชี่ยวชาญในสายอาชีพการตรวจสอบภายในแล้ว ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนแปลงและแรงถดถ่อยหรือรับบาปเคราะห์กรรมในบั้นปลายของสายงานนี้ จึงขอเยียวยาหรือรักษาตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในไว้ และยังมีระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องรองรับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้แต่ในขณะนี้ยังไม่ได้รับการเยียวยาแต่อย่างใด ดังนี้
1.พระราชบัญญัติการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๒๒
2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๔๒
3.ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.๒๕๔๔
4.ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน พ.ศ.๒๕๔๖
5.ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๕
6.คู่มือการตรวจสอบภายในของกรมส่งเสริม (ฉบับที่ ๑) (ฉบับที่ ๒)
7.คู่มือการตรวจสอบภายในของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
8.กฎบัตรการตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ตามระเบียบดังกล่าวได้กล่าวถึงหรือรับรองผู้ตรวจสอบภายในให้มีอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบและจริยธรรมการตรวจสอบภายในตามหลักมรรยาทแล้วแล้ว แต่มาตรฐานการกำหนดตำแหน่งของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นไม่ให้การรองรับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในไม่มีความเหมาะสมที่เพียงพอ จึงวิเคราะห์หรือประเมินจุดแข่งจุดอ่อน ดังนี้

จุดแข็ง
-ด้านระเบียบข้อกฎหมาย
ตามระเบียบหรือข้อกฎหมายที่กล่าวมาไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติที่กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินต้องออกระเบียบมาตรฐานการควบคุมภายในและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการท้องถิ่น โดยกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบภายในให้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและมีจริยธรรมการตรวจสอบที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด (มลก.) และยังมีคู่มือการตรวจสอบตามหลักของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง แต่สำหรับกระทรวงมหาดไทยกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในให้เป็นผู้ตรวจสอบภายในโดยตำแหน่ง(จากระเบียบ ข้อ ๔) และผู้ตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายหรือระบุไว้ในระเบียบอย่างเคร่งครัดแล้ว ซึ่งในแต่ละปีงบประมาณยังได้รับความอนุเคราะห์จากกองตรวจบัญชีและการเงินของกรมส่งเสริมจัดอบรมแก่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในเป็นประจำทุกปี

-ด้านผู้ตรวจสอบภายในและหน่วยรับตรวจ
๑.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในเป็นตำแหน่งที่มีสายงาน (ผู้ปฏิบัติ) เริ่มจากระดับ ๓-๗ (ตามโครงสร้างกรอบอัตรากำลังตามมติคณะกรรมการกลางกำหนด)
๒.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในเป็นผู้ตรวจสอบภายในโดยตำแหน่งต้องปฏิบัติหน้าที่การตรวจสอบภายในตามโครงสร้างของการบริหารงานภายในของ อปท.ที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ การเงิน การบัญชี และความมีระเบียบแบบแผนของหน่วยงานตามที่ได้จัดวางระบบควบคุมภายใน
๓.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลอื่นในด้านการตรวจสอบหรือที่ได้รับมอบหมายที่เกี่ยวกับโครงสร้างงานตรวจสอบภายในโดยเข้าถึงตัวคนและเอกสารโดยยึดหลักของงานและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นสำคัญ
๔.การปฏิบัติงานตรวจสอบตามที่ ๑-๓ ต้องถือตามหลักจริยธรรม/มรรยาทการตรวจสอบที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด กรณีที่ตรวจสอบพบข้อบกพร่องแก่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในยังต้องรับผิดต่อคณะ ผู้ตรวจสอบภายนอก (สตง.) /คณะผู้ตรวจของกรมส่งเสริมฯ จังหวัด และอำเภอตามลำดับ
๕.ประสบการณ์ด้านคุณวุฒิ/วัยวุฒิของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในที่ได้ผ่านการตรวจสอบในสายงานและอยู่ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในระดับ ๓-๗ ซึ่งอย่างมีน้อยมีระยะเวลาการปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญหรือเชี่ยวชาญในสายงานมาบ้างแล้วโดยส่วนใหญ่ไม่คาดหวังที่จะขอโอน (ย้าย)เปลี่ยนแปลงตำแหน่งไปในโครงสร้างหน่วยงานภายในของ อปท. (กองคลัง) โดยวิเคราะห์สาเหตุการเกิด ดังนี้

จุดอ่อน
-ด้านระเบียบข้อกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคล พ.ศ.๒๕๔๒ ที่เป็นข้อบังคับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในเป็นสายงาน (ผู้ปฏิบัติ) เริ่มจากระดับ ๓-๗ และมีโครงสร้างหน่วยงานตรวจสอบภายในโดยขึ้นตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการของราชการส่วนท้องถิ่น (อปท.) นั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับกอง/สำนักต่างๆ (กองคลัง กองช่าง กองการศึกษา สำนักปลัดเทศบาล) ในหน่วยงานตรวจสอบภายในนั้นยังมีโครงสร้างหน่วยงาน ได้แก่ งานตรวจสอบภายใน งานธุรการ เป็นต้น โดยกำหนดให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในอาวุโสสูงสุดของหน่วยงานตรวจสอบภายในเป็นหัวหน้าหน่วยงานและขึ้นตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการเช่นเดียวกับกองต่าง ๆ เช่น ผู้อำนวยการกองคลัง ผู้อำนวยการกองช่าง ผู้อำนวยการกองการศึกษา หัวหน้าสำนักปลัด เป็นต้น แต่ที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นสายงานผู้บริหารซึ่งมีศักยภาพและการรองรับตามข้อกฎหมายอื่นเช่นพระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ และอื่น ๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม้ระเบียบการตรวจสอบภายในจะมีไว้อย่างเข้มแข็งให้ปฏิบัติไว้ก็ตามแต่มีระเบียบอื่นให้ปฏิบัติเป็นอย่างอื่นทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบไว้ดีสักเท่าใดแต่เป็นเพียงสายงาน(ผู้ปฏิบัติ) และ คณะกรรมการกลางกำหนดมาตรฐานกำหนดตำแหน่งไว้เพียงระดับ ๓-๗ ซึ่งไม่มีความเจริญก้าวหน้าที่จะเป็นแรงผลักดันให้การตรวจสอบภายในของ อปท.ก้าวหน้าไปแต่อย่างใดรวมทั้งการสร้างแรงจูงใจ/ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่การตรวจสอบภายในก็ยังไม่แรงกล้าเพียงพอที่จะทำให้เกิดการยอมรับหรือความไว้วางใจจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น+ขนบธรรมเนียมการปฏิบัติของทางราชการแต่อย่างใด ซึ่งโดยทั่วไปย่อมไม่ยอมรับผู้ที่อยู่ระดับต่ำกว่ามาตรวจสอบหรือล่วงรู้การปฏิบัติงานของตนเองและระเบียบยังให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารท้องถิ่นในการสั่งการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ซึ่งสิ่งเหล่านี้การตรวจสอบภายในแม้จะทำงานมากเพียงใดก็เป็นการตรวจสอบเพื่อให้ครบองค์ประกอบของระบบควบคุมภายใน หรืออาจไม่พอนำไปสู่การกลั่นแกล้งการปฏิบัติอื่นที่โยงเข้าด้วยกันนำไปสู่วินัยลงทัณฑ์ของระเบียบแบบแผนของทางราชการอีกด้วย หากมองลึกแล้วเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในทำงานกับนักการเมืองท้องถิ่นซึ่งเป็นรากฐานการพัฒนาสู่การเมืองระดับชาติซึ่งส่วนใหญ่ก็ได้ไปทำหน้าที่ในสภาผู้แทนระดับชาติต่อไป อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งตัวเงิน+ระเบียบข้อกฎหมายและความมีแบบแผน และให้ข้อเสนอแนะที่มีคุณค่าแก่ผู้บริหารท้องถิ่นให้ปฏิบัติไปตามระเบียบข้อกฎหมาย หนังสือสั่งการ มติคณะรัฐมนตรี (ตาม รบ.มท.) แต่ยังไม่ได้รับการเยียวยาทำให้ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสายงานนี้เกิดความวิตกกังวลในความก้าวหน้าและศักดิ์ศรีการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในรวมทั้งยังได้รับบาปเคราะห์กรรมจากระเบียบและมติคณะกรรมการกลางที่กำหนดกรอบงานไว้อย่างแคบๆ ในบั้นปลายของสายงาน (ระดับ ๖-๗ ว) อีกด้วย

-ด้านผู้ตรวจสอบภายในและหน่วยรับตรวจ
๑.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในต้องรับผิดชอบต่อระบบควบคุมภายในของ อปท.ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนดเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเพียงพอในการป้องกันจุดอ่อนหรือความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น/เกิดขึ้นแล้วให้ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีในทางการแก้ไขถึงการตรวจสอบพบการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ ตามโครงสร้างหน่วยงาน (บุคคล) ของราชการส่วนท้องถิ่น
๒.จากการตรวจสอบด้านการปฏิบัติภายในตามโครงการการควบคุมภายในตามระเบียบที่เกี่ยวข้องทางการเงิน งบประมาณ และระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีที่ตรวจสอบพบข้อบกพร่อง/จุดอ่อน/ความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในซึ่งปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในโดยตำแหน่งอยู่แล้วต้องทำการวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยง จุดแข็ง จุดอ่อน ให้แก่หน่วยรับตรวจ/ผู้รับตรวจ แก่ผู้บริหารท้องถิ่น (ปลัด/นายก อปท.) ในการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยงของการรั่วไหลหรือเสียหายแก่ราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งภาระหน้าที่นี่เป็นหลักสำคัญที่ต้องให้เกิดความรับผิดชอบสูงในการศึกษาระเบียบ ธรรมเนียมการปฏิบัติของราชการเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขจุดอ่อนหรือความเสี่ยงภายในแก่หน่วยรับตรวจ/ผู้รับตรวจได้นำไปปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยผ่านผู้บริหารท้องถิ่นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นในแต่ละรายการด้วย
๓.การปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบภายในจำเป็นที่ต้องเข้าถึงตัวคนและเอกสาร ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการปฏิบัติงานนั้นใช้แรงคนปฏิบัติในกรณีที่ระบุไว้ในแผนการตรวจสอบประจำปีถึงการตรวจสอบเฉพาะเรื่อง เช่นการตรวจสอบบัญชีปรากฏว่าผู้อำนวยการกองคลังเป็นผู้ทำบัญชี หากจะต้องตรวจบัญชีต้องตรวจกับบุคคลดังกล่าว ซึ่งไม่มีความเหมาะสมทั้งคุณวุฒิ/วัยวุฒิ (ผู้อำนวยการกองคลังเป็นสายงานผู้บริหาร แต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในเป็นสายงาน (ผู้ปฏิบัติ) และเทียบเท่ากับนักวิชาการเงินการบัญชี นักวิชาการคลัง (ลูกน้อง ผอ.กองคลัง)) และอีกประเด็นที่สำคัญผู้ตรวจสอบภายในไม่ปรากฏได้เข้าร่วมประชุมกับผู้บริหารของ อปท.เพราะการประชุมของผู้บริหาร (ระดมมันสมอง) กำหนดไว้เฉพาะสายงานผู้บริหารเท่านั้นซึ่งประกอบด้วยผู้ระดับผู้บริหารระดับสูง กลาง และต้น (มาจากสายงานผู้บริหารของ อปท.) ส่วนเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในอยู่ในนิยามของผู้ปฏิบัติจึงไม่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมแต่อย่างใด หลายครั้งที่ได้รับความน้อยเนื้อต่ำใจจากผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานที่ไม่ยอมรับตำแหน่งนี้ซึ่งอันที่จริงก็เป็นพนักงานคนหนึ่งเพียงแต่ระเบียบ กฎหมายกำหนดให้เป็นผู้ตรวจสอบภายในโดยตำแหน่งที่กำหนดของระเบียบของกระทรวงมหาดไทยที่กล่าวแล้ว ยกตัวอย่าง กรณีการแจ้งเข้าตรวจสอบภายในของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในต่อหน่วยรับตรวจ/ผู้รับตรวจไม่ได้รับการยอมรับบางครั้งหลีกเลี่ยงและบ่ายเบี่ยงในเชิงใช้อำนาจ และแสดงกริยาไม่เหมาะสมให้เห็นถึงความแตกต่างในสายงานและระเบียบแบบแผนของทางราชการที่ยอมรับผู้มีอำนาจสูงกว่า ซึ่งได้เปรียบเทียบกรณีคณะผู้ตรวจสอบภายนอก (สตง.) เข้าตรวจหน่วยรับตรวจของ อปท.ให้การต้อนรับขับสู้เป็นอย่างดีอาหารหวาน คาวไม่ขาดสาย แต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในเข้าตรวจเพื่อให้รู้ถึงจุดอ่อนหรือความเสี่ยงการดำเนินงานภายในเมื่อจะได้วิเคราะห์สาเหตุ จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขให้ระบบงานดีขึ้น (ล้วนเป็นประโยชน์ต่อหน่วยรับตรวจ) ไม่เพียงเท่านั้นการตรวจสอบภายในได้กำหนดวงจรการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน ดังนี้

(๑.) การเสนอแผนการตรวจสอบประจำปีงบประมาณ ภายในเดือน กันยายนของทุกปี
(๒.) ส่งแผนการตรวจสอบต่อ สตง.และผู้ว่าราชการจังหวัด
(๓.) เข้าตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบ ข้อ ๑
(๔.) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน/จุดเสี่ยงของระบบควบคุมภายในจาการดำเนินงาน
(๕.) เสนอแนะในรายงานผลการตรวจตาม ข้อ ๑-๔ ต่อผู้บริหารท้องถิ่นให้ทราบถึงปัญหาและมีคำสั่งให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
(๖) ติดตามผลการตรวจสอบหลัง ข้อ ๕ โดยสรุปผลการดำเนินงานหลังปรับปรุงให้ผู้บริหารท้องถิ่นทราบว่าการแก้ไขปรับปรุงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรและยังมีความเสี่ยงต่อระบบควบคุมภายในอย่างไรบ้าง

ซึ่งความภาระหน้าที่ความรับผิดชอบต่อผู้บริหารท้องถิ่น (ปลัด/นายก) และหน่วยรับตรวจภายในของ อปท.หลายครั้งที่เกิดภาวะความเครียดที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากหน่วยงานของ อปท.เองและกรมส่งเสริมฯ ที่ผ่านมาทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในหลายคนตัดสินใจโอน(ย้าย) เปลี่ยนสายงานไปอยู่กองคลังซึ่งเป็นสาเหตุของการตรวจสอบภายในของ อปท.ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรแม้จะเกิดอุปสรรคทั้งภายในและภายนอกเกิดขึ้นก็ตามยังมีผู้ที่รักในสายงานตรวจสอบภายในช่วยกันพยายามรักษามาตรฐานการตรวจสอบให้คงอยู่แม้จะไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ในระยะเวลาที่ผ่านมาก็ตามและปัจจุบันเท่าที่สำรวจได้ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในเกิดภาวะถดถ่อยตัดสินใจโอน(ย้าย) เปลี่ยนแปลงไปสายงานกันมากขึ้นไม่มีสถานะเป็นผู้ตรวจสอบภายในของ อปท.อีก

อีกภารกิจหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในถูกใช้เป็นเครื่องของผู้บริหารในการแก้ไขปัญหาและสะสางงานที่ไม่คืบหน้าแก่ผู้บริหารท้อกงถิ่นรับภารเป็นด่านหน้าเครื่องกันชนกับพนักงานและเจ้าหน้าที่ในส่วนต่าง ๆภายในของ อปท. ล้วนแต่เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ระเบียบกำหนด ซึ่งการยอมรับและขนบธรรมเนียมประเพณีของราชการไทยได้สืบสานกันมายาวนานอย่างน้อยก็กรุงศรีอยุธยาเรื่อยมาเป็นภาระบาปเคราะห์กรรมที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบสำคัญต้องเข้าตรวจสอบทานการปฏิบัติงานที่ละทิ้งมิได้ โดยไม่ได้รับยอมรับให้ความไว้วางใจแก่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในเท่าที่ควรจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างและกำหนดมาตรฐานตำแหน่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในให้เป็นเพียงสายผู้ปฏิบัติและไม่ได้รับการเยียวยานอกเหนือจากเหนือไปกว่าระดับ ๓-๗ ว และโดยธรรมเนียมยังแบ่งสายงานแยกเป็น ๒ สาย คือ (๑) สายสำหรับผู้บริหาร (๒) สายสำหรับผู้ปฏิบัติ

บทสรุปหรือคำวิงวอน
ขอให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลและเป็นผู้กำหนดมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและโครงสร้างของ อปท.ให้ดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดแล้ว แต่สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในมีความจำเป็นที่ต้องขอความกรุณาให้กรมฯเล็งเห็นถึงความสำคัญของการตรวจสอบภายในสร้างงานโดยคำนึ่งถึงความโปร่งใสด้านงบประมาณ การเงิน การบัญชี และความมีระเบียบแบบแผนของทางราชการตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และระเบียบกระทรวงมหาดไทย (เจ้าสังกัด) ที่ได้กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบเฉพาะตำแหน่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในเฉพาะตำแหน่งโดยไม่ให้นิยามถึงตำแหน่งอื่นต้องมาปฏิบัติงานในสายงานนี้อีก ซึ่งอาจหมายถึงการมีเจตนาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในมีโครงสร้างหน่วยงานตรวจสอบภายใน สายงาน การบังคับบัญชาของกลุ่มงานเดียวกันไม่ทิ้งงานตรวจสอบสร้างคนระบบงานให้เกิดความเชี่ยวชาญและการเจริญก้าวหน้าในสายงานตรวจสอบซึ่งจะจรรโลงใจและสร้างขวัญกำลังให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในไม่คิดเปลี่ยนสายงานไปอยู่หน่วยอื่นซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้การตรวจสอบในไม่สอดคล้องกับโครงสร้างของ อปท.มีมากกว่า ๗,๐๐๐ กว่าแห่ง แต่มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในมีประมาณ ๕๐๐ คน ซึ่งมีอัตราส่วนที่ต่างกันมาก และเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ จากแรงกดดันด้านระเบียบการปฏิบัติงานกับหน่วยรับตรวจ/ผู้รับตรวจและความก้าวหน้าในสายงานที่ยังไม่กรอบอัตรากำลังของคณะกรรมการกลางของกรมส่งเสริมฯ ได้

จากการสำรวจที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในได้แบ่งช่วงของการโอน(ย้าย) ไปอยู่หน่วยงานอื่น (กองคลัง) ในตำแหน่งที่เกื้อกูลกับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน (กองคลัง +หน่วยงานตรวจสอบภายในเป็นคนละหน่วยงานกัน) โดยแบ่งช่วงการโอน (ย้าย) ถึง ๓ ระดับด้วยกัน ดังนี้

๑.ระดับ ๓-๔ โอน(ย้าย) ไปอยู่กองคลังในตำแหน่งสายงานที่เริ่มจากระดับเดียวกัน เช่น นักวิชาการเงินการบัญชี นักวิชาการคลัง นักวิชาการพัสดุ เป็นต้น
เป็นสาเหตุที่ทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในที่บรรลุเข้ามาในสายงานนี้ต้องทิ้งสายไปอยู่สายงานอื่นทำให้ตำแหน่งนี้ไม่เติบโตและมีอันตราที่ลดลงเรื่อยๆ จากแรงกดดันจากระเบียบปฏิบัติงานและการเข้าถึงตัวคนและเอกสารที่ไม่เป็นที่ยอมรับของขนบธรรมเนียมของหน่วยงานที่ไม่ยอมรับผู้น้อยให้มาตรวจสอบทานงานผู้ที่อยู่สูงกว่า ระดับความเสียหายยังไม่มากพอ

๒.ระดับ ๔-๕ โอน(ย้าย) เพราะลักษณะเดียวกับ ข้อ ๑ แต่ความเสียหายมากเพราะผู้ปฏิบัติงานกว่าจะมาถึงระดับ ๔-๕ อย่างน้อยใช้เวลาร่วมกว่า ๖ ปีเป็นอย่างต่ำกว่าจะสร้างคนและระบบงานตรวจสอบมาถึงขั้นเชียวชาญก็ต้องเสียทรัพยากรบุคคลไปอยู่กับหน่วยงานอื่น (ไม่มีฐานะเป็นผู้ตรวจสอบภายในอีก)

๓.ระดับ ๖-๗ เป็นระดับที่อยู่มานานเกิดความเชียวชาญหรือชำนาญงานสูงมากเพราะกว่าจะอยู่มาถึงระดับนี้ใช้เวลาการปฏิบัติงานกว่า ๘ ปี เป็นอย่างต่ำหรือขั้นว่าเป็นที่ปรึกษาให้กับเจ้าหน้าที่ระดับล่างได้ทีเดียวแต่ส่วนหนึ่งที่เกิดจากแรงกดดันทำให้หักเหโอน(ย้าย) สายงานกองคลังโดยการสอบแข่งขันเป็นนักบริหารงานคลัง ซึ่งโดยทั่วไป อปท.จะเปิดรับสมัครพนักงานท้องถิ่นที่มีคุณสมบัติและระดับ 6 เข้าร่วมการสอบแข่งขัน โดยทั่วไปแล้วแม้ อปท.จะเปิดรับสมัครและแจ้งหนังสือเวียนไปยังหน่วยงานอื่นๆ ก็ตามความหลักธรรมเนียมและมรรยาทแล้วจะไม่มีผู้สมัครหน่วยงานอื่นเข้ามาแข่งขันการสอบ (ยกเว้นพนักงานภายในด้วยกัน)

จึงวิเคราะห์ได้ว่า
(๑) เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในระดับ ๖ เข้าร่วมแข่งขันปัญหาเกิดกับหน่วยงานตรวจสอบทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในต้องทิ้งหน่วยงานตรวจสอบภายในไปเป็นคนของกองคลัง (ไม่มีฐานะเป็นตรวจสอบภายใน) อีกทั้งตัวของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในต้องปรับสภาพการปฏิบัติที่ต่างกันมากในการเข้าร่วมแข่งขันภายในกับตำแหน่งที่อยู่กองคลังมีธรรมเนียมการปฏิบัติและปฏิบัติงานประจำอยู่แล้ว และส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในมักจะสอบแข่งขันไม่ผ่านเกณฑ์ของกำหนดเพราะสาเหตุที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในตลอดระยะเวลากว่า ๖ ปี ขั้นต่ำ (ระดับ ๖) ได้ปฏิบัติงานในสายงานตรวจสอบภายในไม่ได้ร่วมปฏิบัติงานกองคลังมาก่อนเลยเพราะเป็นคนสายงานกันและระเบียบห้ามไว้โดยเด็ด กรณีที่สอบได้ก็จะมีปัญหากับตัวเจ้าหน้าที่ตรวจสอบในการบริหารงานคลังและไม่มีฐานะเป็นผู้ตรวจสอบภายในอีกต่อไปทำให้เปลี่ยนสถานะและความถนัดในสายงานที่ผ่าน

(๒) เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในระดับ ๗ เป็นบาปเคราะห์กรรมที่เหมือนกับต้นไม้ที่ค่อยเฉาตายเพราะจะขึ้นก็ไม่ได้จะลงก็ไม่ได้ต้องอดทนอยู่ในการปฏิบัติในฐานะผู้ตรวจสอบภายในและมีฐานะผู้ปฏิบัติงานไม่ได้เป็นสายบริหารหรือมีสิทธิพิเศษที่กรมส่งเสริมให้มีลักษณะที่พิเศษออกไปแต่อย่างใดในขณะนี้ แม้ว่า อปท.จะมีศักยภาพที่จะขยายกรอบอัตรากำลังถึง ๘-๙ ตามโครงสร้างงานเช่นเดียวกับกองต่าง ๆ ที่ผู้อำนวยการกองระดับ ๘-๙ แต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน ๗ จะมีลักษณะที่เป็นยอมรับการปฏิบัติได้อย่างไร
ชมรมผู้ตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดตั้งมาเพื่อมีวัตถุประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในของ อปท.ที่กระจายอยู่ทั่วไปและมีจำนวนไม่มากและไม่ได้สัดส่วนของ อปท.ที่มีมากขึ้นทุกวันกว่า ๗,๐๐๐ กว่าแห่ง แต่มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในเพียงแค่ ๕๐๐ กว่าคน ซึ่งมีอัตราส่วนที่น้อยมากและที่มีอยู่แล้วก็พยายามโอน(ย้าย) ตำแหน่งไปอยู่สังกัดหน่วยงานโครงสร้างอื่นทั้งที่ไปเพราะถูกกดดันจากระเบียบบ้างการเจ้าถึงตัวคนและเอกสารรวมทั้งการยอมรับหรือความไว้วางใจจากกรมส่งเสริมเป็นส่วนสำคัญด้วย

ดังนั้น ใคร่ขอวิงวอนไปยังกรมส่งเสริมกรมปกครองส่วนท้องถิ่นแก้ไขปัญหาทั้งปัจจัยภายในและภายนอกสร้างมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในให้มีลักษณะเฉพาะให้เกิดการยอมรับทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในทุกคนก็หวังว่าการแก้ไขปัญหาเพียงให้กำลังใจและสร้างตนเองโดยไม่มีระเบียบแบบแผนรองรับที่เพียงพอไม่อาจทำให้งานตรวจสอบภายในบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามแนวทางการจัดวางระบบควบคุมภายในได้

จึงขอความอนุเคราะห์ให้ความกรุณาแก่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย








ชมรมเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น http://www.auditgroup.ob.tc/
ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาในด้านการตรวจสอบภายในท้องถิ่น


1. ขอให้กระทรวงมหาดไทย ผลักดันการแก้ไขมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้สอดคล้องกับระเบียบมท.และระเบียบคตง.ว่าด้วยผู้ตรวจสอบภายในฯ เพราะปัจจุบัน ผู้ตรวจสอบภายใน ทำงานไม่ได้เต็มที ซึ่งเป็นนัยจากมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง มูลเหตุระบุว่ามีงานที่รับมอบหมายด้วย (ทั้งนี้ หากจะเป็นงานที่ได้รับมอบหมายนั้น ขอให้ระบุเป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติท้ายระเบียบคตง.ว่าด้วยผู้ตรวจสอบภายใน พ.ศ.2546 คือ ให้เป็นได้เพียงแค่ให้คำปรึกษาเท่านั้น) แต่ข้อเท็จจริงแล้ว ปัจจุบันผู้ตรวจสอบภายในของท้องถิ่น ได้รับมอบหมายเป็นกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง หรือมอบหมายทำหน้าทีอื่นเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับงานที่ได้รับมอบหมาย เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ตนจะต้องเข้าตรวจสอบ จึงทำให้ขาดความเป็นกลาง หรือขัดกับมาตรฐานของผู้ตรวจสอบภายใน ท้ายระเบียบคตง.กำหนดไว้ คือ ให้ผู้ตรวจสอบภายในเป็นอิสระ ไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่จะตรวจ กรณีการไปทำงานด้านอื่นๆ หรือรักษาการในงานอื่นนั้น ทำให้ผู้ตรวจสอบภายในไม่มีผลงานหลักในหน้าที่งานประจำฯ

2. ขอให้กระทรวงมหาดไทย หรือผู้กำกับดูแล กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หรือ กองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแล สายงานตรวจสอบภายในท้องถิ่น ได้โปรดส่งเสริมพัฒนาความรู้ ให้กับผู้ดำรงตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในท้องถิ่น อย่างต่อเนื่องและเป็นประจำด้วย เพราะการที่จะเข้าตรวจสอบหน่วยรับตรวจ (สำนัก/กอง)นั้น ผู้ตรวจสอบจะต้องมีความรู้ทักษะมากพอ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาด้วยตนเอง หรือศึกษาจากท่านผู้รู้ แต่ที่จำเป็นอย่างยิ่งคือ การได้รับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องให้ทันต่อระเบียบ กฎหมาย หนังสือสั่งการ และภารกิจถ่ายโอน (ปัจจุบันกองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่นจัดปีละ 1 ครั้ง บางครั้งก็ไม่ได้จัด โดยภาพรวมถือว่า การส่งเสริมเพื่อให้ความรู้ยังน้อยมาก จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้ตรวจสอบภายในท้องถิ่นต้องสร้างเครือข่าย (ชมรมฯ) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

3. ขอให้กระทรวงมหาดไทย พิจารณาปรับขยายระดับตำแหน่งเดิมที่กำหนดไว้สูงสุด 7 ว ให้เป็นเทียบเท่า ระดับตำแหน่งหน่วยรับตรวจ กล่าวคือ หน่วยรับตรวจ (สำนัก/กอง) อยู่ในระดับใด ผู้ตรวจสอบภายในต้องอยู่ระดับนั้นหรือเอย่างน้อยเทียบเท่า (เช่น ผอ.ระดับ 8, 9 = หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน ต้องระดับ 8 ว, 9 ว เป็นต้น)เพื่อให้เป็นไปตาม แนวทางปฏิบัติที่ 3 แนบท้ายระเบียบคตง.ฯว่าด้วยผู้ตรวจสอบภายใน พ.ศ.2546 ได้ระบุไว้ว่าผู้ตรวจสอบภายในต้องมีศักยภาพสูงพอที่จะสามารถตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง สถิติที่ผ่านมา หากผู้ตรวจสอบภายในเป็น 6 ว ,7 ว จะมีแนวโน้มเปลี่ยนสายงาน ไปสอบสายบริหารมากขึ้น เพราะไม่ก้าวหน้า

4. หากกรณีในอนาคต เมื่อได้มีการพัฒนาความรู้ และยกระดับความสามารถของผู้ตรวจสอบภายในให้เป็นไปตามมาตรฐานของคตง.และกรมบัญชีกลางแล้ว ขอให้กระทรวงมหาดไทย(ผู้กำกับดูแล)ควรยกระดับ ให้มีการพิจารณาเป็นสายวิชาชีพ (วช.)เนื่องจากตำแหน่งตรวจสอบภายใน เป็นลักษณะงานที่ต้องรอบรู้ และเชี่ยวชาญในทุกด้าน ตั้งแต่ตรวจสอบเรื่องการจัดทำแผนพัฒนา เรื่องการจัดทำงบประมาณ เรื่องการจัดเก็บรายได้ การจัดทำแผนที่และทะเบียนทรัพย์สิน การเร่งรัดลูกหนี้ภาษี เรื่องการเบิกจ่าย เรื่องการพัสดุ เรื่องการบันทึกบัญชี รายงานงบการเงิน ปัจจุบันท้องถิ่นได้รับภารกิจถ่ายโอนจำนวนมาก เช่น โรงเรียน สถานีขนส่ง สถานีอนามัย รวมทั้งหน่วยรับตรวจได้นำระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์มาใช้ จึงทำให้หน่วยตรวจสอบภายในต้องได้รับความรู้เพื่อที่จะเข้าตรวจสอบ ตลอดจนจะต้องตรวจสอบผลของการดำเนินงานโครงการต่างๆ ว่ามีความคุ้มค่า คุ้มประโยชน์ โดยประหยัด หรือไม่ , มีหน้าที่ประเมินระบบควบคุมภายในองค์กร (ประจำทุกปี),บางกรณี ได้ร่วมเป็นกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด , กรรมการสอบสวนวินัย จึงถือว่าทำงานหลายด้าน และต้องมีศักยภาพการทำงานสูง ภายใต้แรงกัดดันรอบด้าน